รวม 20 ที่เที่ยวลำพูน ชมธรรมชาติ สัมผัสวิถีชีวิตชุมชน – good all trip

เวลาทำการ

วันจันทร์-วันศุกร์ 09.00 - 18.00 น. วันเสาร์ 09.00 - 12.00 น.

Hotline

093-2129897

093-2569030

รวม 20 ที่เที่ยวลำพูน ชมธรรมชาติ สัมผัสวิถีชีวิตชุมชน

มีนาคม 9, 2021 | by good all trip

ใครกำลังมองหาที่เที่ยวธรรมชาติ และต้องการหนีความวุ่นวายในเมืองมาใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ เราขอแนะนำ 20 ที่เที่ยวลำพูน มาเที่ยวกันเต๊อะรับรองจะติดใจ!

วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ซึ่งเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในอำเภอลี้และยังเป็นวัดประจำหมู่บ้านของชาวปาเกอะญออีกด้วย บริเวณทางเข้าวัดจะมีอนุสาวรีย์พระครูบาชัยวงศาตั้งอยู่ วัดพระพุทธบาทห้วยต้มมีบริเวณที่กว้างขวาง เป็นศาสนสถานที่สำคัญ ศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนห้วยต้ม ภายในมีเอกลักษณ์ที่สวยงามด้วยเอกลักษณ์ล้านนา ทำจากศิลาแลงที่ขุดได้จากบ่อศิลาแลง ด้านหลังของวัด สถานที่สำคัญได้แก่ วิหารพระเมืองแก้ว ที่องค์พระธาตุได้รับการตกแต่งอย่างงดงาม เป็นสถานที่บรรจุสรีระทิพย์ของหลวงปู่ครูบาชัยวงศาพัฒนา

อุทยานแห่งชาติแม่ปิง ครอบคลุมพื้นที่อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก โดยที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน ที่ได้ชื่อว่าบรรยกาศที่เป็นธรรมชาติและทัศนนียภาพ สวยงาม มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายทั้งภูเขา น้ำตก และทุ่งหญ้ากว้าง เหมาะสำหรับคนที่รักความสงบและชื่นชมในความเป็นธรรมชาติ

อยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวถึง 1,352.10 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2540 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2461 เป็นระยะเวลา 11 ปี นักท่องเที่ยวสามารถแวะไปถ่ายรูปที่อุโมงค์ขุนตาลแห่งนี้ได้โดยการขับรถส่วนตัวไปเอง หรือจะเปลี่ยนบรรยากาศไปนั่งรถไฟก็ได้สัมผัสความเป็นธรรมชาติที่สวยงาม

สะพานขาวทาชมภู เริ่มก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ. 2461 และสร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2463 โดยมีรูปทรงเป็นทรงโค้งทาสีขาวในแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก นับเป็นสะพานประวัติศาสตร์ ที่มีความแปลกและท้าทาย คือเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ปกติสะพานรถไฟจะสร้างด้วยเหล็กเท่านั้น เพราะสามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนและอ่อนตัวได้ดีกว่า แต่เนื่องจากช่วงเวลาที่สร้างสะพานเป็นภาวะสงคราม จึงไม่สามารถหาเหล็กมาสร้างสะพานได้ แต่ด้วยการคำนวณและควบคุมงานที่ยอดเยี่ยมของ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินได้ ทำให้สะพานขาวทาชมภูยังคงใช้งานได้อยู่จนถึงทุกวันนี้ และในปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่ถ่ายรูปสำหรับนักท่องเที่ยว ถือได้ว่าเป็นจุดเช็กอินหลักของจังหวัดลำพูนเลยก็ว่าได้ อีกทั้งทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีการจัดงานที่คู่รักจะมาจดทะเบียนสมรถ ณ สะพานขาวทาชมภูแห่งนี้

เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนและอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มีขนาดพื้นที่ประมาณ 255.29 ตารางกิโลเมตร 159556.25 ไร่ ด้วยสภาพภูมิประเทศที่งดงามอุดมสมบูรณ์ เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ตลอดจนเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ นอกจากนี้บนยอดดอยขุนตาลจะพบพรรณไม้ดอกซึ่งเป็นไม้ออกดอกที่หมุนเวียนตลอดปี เช่น กล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ พืชสกุลขิง และลิลลี่ รวมไปถึงยังคงมีสัตว์ป่าที่เหลืออยู่ เช่น เก้ง กระต่ายป่า หมูป่า เม่น ไก่ป่า นก แมงมุงและแมลง นานานชนิด สำหรับการเดินทางสามารถเดินทางได้โดย รถยนต์ส่วนตัว และรถไฟมาลงที่สถานีรถไฟขุนตาล

ที่นี่เป็นหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นและขึ้นชื่อในเรื่องของผ้าบาติกมัดย้อม คือทำกันเป็นล่ำเป็นสันมากเธอ หลายครัวเรือนทำเป็นอาชีพหลักเลยก็ว่าได้ ขายกันทั้งแบบส่ง และแบบปลีก รับทำตาม order ด้วย โดยจะมีแบบให้ลูกค้าเลือกมากมายตามใจชอบ เราปักหมุดไปที่ร้าน นุชผ้ามัดย้อม อะเธอ เป็นแหล่งผลิตผ้าบาติกมัดย้อมรายใหญ่รายหนึ่งของบ้านกองงาม มีกระบวนการผลิตครบวงจร มีผ้าบาติกมัดย้อมให้เลือกหลากหลาย ดีไซน์ทันสมัย และอินเทรนเข้ากับแฟชั่นปัจจุบัน เด็กใส่ได้ ผู้ใหญ่ใส่ดี

วัดนี้เป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดลำพูน บนม่อนดอยเบื้องหลังวัดได้มีการสร้างพระเจดีย์ ซึ่งเป็นศิลปะที่ผสมผสานจากพระธาตุดอยสุเทพและพระธาตุหริภุญชัย โดยมีบันไดนาค 469 ขั้น เชื่อมระหว่างเจดีย์บนม่อนดอยกับวัดพระบาทตากผ้าที่เชิงดอย วัดนี้เป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดลำพูน บนม่อนดอยเบื้องหลังวัดได้มีการสร้างพระเจดีย์ ซึ่งเป็นศิลปะที่ผสมผสานจากพระธาตุดอยสุเทพและพระธาตุหริภุญชัย โดยมีบันไดนาค 469 ขั้น เชื่อมระหว่างเจดีย์บนม่อนดอยกับวัดพระบาทตากผ้าที่เชิงดอย ปัจจุบันสามารถนำรถขึ้นไปได้

ดอยขะม้อ เป็นภูเขาอยู่ลูกหนึ่งลักษณะสูงชันมาก รูปร่างเหมือนหม้อคว่ำ ชาวเมืองเรียกกันมาแต่โบราณว่า “ดอยคว่ำหม้อ” ต่อมาเพี้ยนมาเป็น “ดอยขะม้อ บ่อน้ำทิพย์” ที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะว่าบนยอดดอยมีบ่อน้ำที่เกิดกลางแผ่นดิน ถือกันมาแต่โบราณว่าเป็นบ่อน้ำทิพย์ ที่บริเวณปากบ่อจะมีป้ายปักไว้ว่า “บริเวณบ่อน้ำทิพย์ห้ามผู้หญิงเข้า” เพราะเมื่อผู้หญิงเข้าไปแล้วน้ำในบ่อจะแห้งทันที ยอดดอยขะม้อมีความกว้างประมาณ 12 เมตร ยาว 30 เมตรล้อมรอบดอยนี้มีเขาสูงสลับซับซ้อนกันหลายลูกและมีพันธุ์ไม้นานาชนิดขึ้นอย่างหนาแน่น ด้านบนมีพระวิหารตั้งอยู่หลังหนึ่งกับรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่หน้าวิหาร มีแผ่นศิลาจารึกเป็นภาษาไทยล้านนาว่า“ได้สร้างพระวิหารและรอยพระพุทธบาทจำลองเมื่อ พ.ศ.2470 โดยครูบาสิงห์ชัย วัดสะแล่ง พระครูชัยลังกา วัดศรีชุม ขุนจันทนุปาน กำนันตำบลมะเขือแจ้ และนายชัย กำนันตำบลบ้านกลาง ได้ชักชวนประชาชนสร้างสิ้นค่าก่อสร้าง 3,000 รูปี ทำบุญฉลองเมื่อ พ.ศ.2472” ตั้งอยู่ในเขตตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เลขที่ 259 หมู่ที่ 12 เป็นที่ตั้งที่พักสงฆ์ดอยขะม้อ (บ่อน้ำทิพย์) ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 16 กิโลเมตร บ่อน้ำทิพย์เป็นลักษณะบ่อที่เกิดกลางแผ่นดิน ไม่ใช่บ่อที่มีคนขุด มีกว้างประมาณ 3 เมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเรียว ลึกลงไปเป็นรูปกรวย ความลึกของบ่อน้ำทิพย์นั้นไม่สามารถลงไปวัดได้ น้ำทิพย์จากดอยขะม้อ ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 7 แห่ง ที่ได้มาจากแม่น้ำและแหล่งน้ำสำคัญและเป็นสิริมงคลของประเทศ เพื่อนำมาทำน้ำพุทธมนต์ ณ มหาเจดีย์สถานอันเป็นมหานครโบราณ 7 แห่ง ได้แก่ น้ำจากแม่น้ำป่าสัก ตำบลท่าราบ,น้ำจากทะเลแก้ว พิษณุโลก,น้ำโชคชมพู บ่อแก้ว บ่อทอง สวรรคโลก,น้ำจากแม่น้ำนครไชยศรี นครปฐม,น้ำจากบ่อวัดหน้าพระลาน บ่อวัดเสมาชัย บ่อวัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช,น้ำจากบ่อวัดพระธาตุพนม นครพนม และน้ำทิพย์จากดอยขะม้อ ลำพูน น้ำทิพย์ดอยขะม้อ จะถูกชักรอกด้วยค้างหงส์ เพื่อนำขึ้นสรง องค์พระบรมธาตุหริภุญชัย ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือนแปดเป็ง) ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับชาวจังหวัดลำพูน เนื่องจากถูกกำหนดให้เป็นน้ำสำหรับสรงพระบรมธาตุหริภุญชัย ซึ่งชาวลำพูนให้ความเคารพนับถือ เป็นมิ่งขวัญ และเป็นจอมเจดีย์ที่สำคัญ ที่สุดของอาณาจักรล้านนาโบราณ สำหรับพิธีการตักน้ำทิพย์บนยอดดอยวันเวลาในการตักน้ำทิพย์ ตามธรรมเนียม พื้นเมือง จะตักในวันขึ้น 12 ค่ำ ก่อนวันสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย 3 วัน จะนิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 9 รูป ขึ้นไปเจริญพระพุทธมนต์ ณ บริเวณยอดดอยขะม้อ เวลาค่ำมีการทำพิธีบวชพราหมณ์ จำนวน 4 ตน ซึ่งจะต้องนอนค้างคืน 1 คืน และประมาณ เวลา 05.00 น. ของเช้าวันขึ้น 12 ค่ำพราหมณ์ ทั้ง 4 ตน จะได้ลงตักน้ำทิพย์ใส่หม้อน้ำทิพย์ขึ้นเสลี่ยงแบกหามลงมาทำพิธีสมโภช หลังจากนั้นจะจัดขบวนอัญเชิญน้ำทิพย์ดอยขะม้อเข้าเมืองหริภุญชัยเพื่อตั้งสมโภชที่วัดพระธาตุหริภุญชัยเป็นเวลา 3 วัน ก่อนนำขึ้นสรงพระบรมธาตุเจ้า ร่วมกับน้ำสรงพระราชทาน

วัดต้นแก้ว สันนิษฐานว่าย้ายมาจากวัดดอนแก้ว ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. 1825 เป็นวัดที่สร้างในสมัยพระนางเจ้าจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่ง นครลำพูน เริ่มสร้างเมืองลำพูน เหตุที่ย้ายมาเนื่องจากวัดดอนแก้ว เป็นวัดใหญ่ที่ขาดการดูแลรักษาจึงผุพังไปตามกาลเวลา จึงได้ย้ายมาสร้างวัดต้นแก้วขึ้นใหม่ โดยมีแม่เฟย พร้อมผู้มีศรัทธาช่วนกันก่อสร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 1830 ภายในบริเวณวัดมีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยองบนกฎิเก่า ก่อตั้งโดยพระครูไพศาลธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดต้นแก้วเมื่อปี พ.ศ.2530 โดยเริ่มต้นเก็บสะสมของโบราณที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันตามวิถีชีวิตของชาวยองในอดีต ภาพโบราณ เมืองลำพูน พระเครื่อง รวมไปถึงผ้าทอโบราณ การทำไร่ ทำนา ได้แก่ คุดีข้าว ล้อเกวียน เมื่อมีสิ่งของมากขึ้นก็จัดแสดงเป็น พิพิธภัณฑ์เล็กๆ ภายในวัด หลังจากนั้นก็เริ่มมีผู้มีจิตศรัทธา นำสิ่งของเก่าๆมาบริจาคมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้จัดทำเป็น พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดต้นแก้ว พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว หรือพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง ประกอบด้วยอาคารที่ใช้จัดแสดง 2 หลัง ๆ แรกเป็นอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ ใช้เก็บของที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธรูปไม้ พระพุทธรูปเนื้อดินเผา หีบพระธรรม เครื่องเขิน ขันโตก เครื่องจักสาน กล้องยาสูบ ภาพถ่ายเก่า ๆ มีดดาบ และวัตถุสิ่งของที่ใช้ในการทอผ้า ซึ่งเป็นข้าวของเป็นสิ่งที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวยอง ในชุมชนแห่งนี้มาแต่ครั้งอดีต อาคารหลังที่สอง เป็นอาคารไม้หลังเก่าอยู่ทางด้านหลัง จัดแสดงเครื่องพัดยศ และพระเครื่องรุ่นต่าง ๆ อีกมากมาย และยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสืบชะตาอีกด้วย จุดเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ การเก็บรวมรวมพระเครื่องสกุลต่างๆ ที่มีชื่อเสียงของลำพูนเอาไว้มากมาย เช่น พระรอด พระคง พระบาง พระลือ พระเลี่ยง พระเปิม พระสิบสอง พระลบ เป็นต้น นอกจากจะมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแล้ว วัดต้นแก้วยังเป็นทั้งศูนย์เรียนรู้การทอผ้ายกดอก จังหวัดลำพูน เป็นที่ทำการของกลุ่มทอผ้า ผู้สูงอายุ เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน ปัจจุบัน วัดต้นแก้วเป็นพื้นที่ให้คนต่างกลุ่ม ต่างอายุได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกัน โดยวัดได้จัดให้มีโครงการหมู่บ้าน “ยอง” เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของตน นับเป็นอีกความพยายามหนึ่งที่จะรักษาเอกลักษณ์ของคนยองเอาไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของคนยอง

เป็นวัดที่มีความสวยงามโดยเฉพาะวิหารได้ติดอันดับ 1 ใน 10 วิหารสวยของประเทศไทยอีกด้วย พระวิหารพระเขียวโขง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 โดยใช้วัสดุเสาไม้ตะเคียนทอง ไม้แดง จากประเทศลาว พม่า และไทย พระครูบาอินทรเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างและออกแบบลวดลายพื้นเมือง ผสมผสานระหว่างสมัยเก่ากับสมัยใหม่ วิหารพระเจ้าเขียวโขงเมื่อมองจากด้านหน้าจะมีหลังคา 5 ชั้นมีช่อฟ้า 5 ตัวหมายถึงพระเจ้า 5 พระองค์ ด้านหลังอีกสามหมายถึงศีลสมาธิปัญญา หมายถึงการปฏิบัติของพระพุทธเจ้า เพื่อเดินเข้าสู่พระนิพพาน หน้า 5 รวมหลัง 3 เป็น 8 หมายถึงต้องปฏิบัติตามทางสายกลางคือมรรค 8 ได้ธรรมมัชฌิมา ทางสายกลางคือ 9 เป็นโลกุตรธรรม นอกจากนี้ภายในวิหารพระเขียวโขงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธอัญญรัตนมหานาทีศรีหริภุญชัย หรือพระเขียวโขง เป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากหินแม่น้ำโขง บ้านดอนมหาวัน ที่ใกล้กับประเทศลาว ใครที่มีโอกาสได้ไปจังหวัดลำพูน ก็อย่าลืมที่จะแวะไปชมความสวยงามของวัดสันป่ายางหลวงกันนะ

วัดมหาวัน (มหาวันวนาราม) เป็นพระอารามหลวงของพระนางจามเทวี เจดีย์วัดมหาวันเป็นที่บรรจุพระรอดลำพูน 1 ใน 5 พระเครื่องชุดเบญจภาคีที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เชื่อกันว่า พระรอดมีความศักดิ์สิทธิ์หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตรายและความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผลและคงกระพันชาตรี หากใครได้มากราบไหว้บูชาพระรอดก็จะพ้นภัยอันตรายทุกสิ่งปวง วัดเก่าแก่ อายุกว่า 1,300 ปี สร้างในสมัยพระนางจามเทวี มีพระพุทธรูปปางนาคปรกที่อัญเชิญมาจากเมืองละโว้ กรุพระเครื่องชื่อดัง คือ พระรอดมหาวัน ถือเป็นแบบพิมพ์องค์พระรอดที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ที่ถนนจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน เป็นวัดที่เก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี อาณาเขตทิศเหนือจรดทางสาธารณประโยชน์ ทิศใต้จรดทางสาธารณประโยชน์และถนนจามเทวี ทิศตะวันออกจรดทางสาธารณประโยชน์และคูเมืองส่งน้ำ ทิศตะวันตกจรดทางสาธารณประโยชน์ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอระฆัง หอไตร ปูชนียวัตถุ พระพุทธรูปพระประธานสร้างด้วยอิฐถือปูน ศิลปะล้านนา

อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ตำบลในเมือง บริเวณด้านหลังตลาดหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดลำพูนประมาณ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางทรงเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม เป็นนักรบที่มีความสามารถและกล้าหาญชาญชัย พระนางคือผู้นำพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมมาเผยแผ่ในดินแดนแถบนี้จนรุ่งเรื่องสืบมาจนถึงปัจจุบัน พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม ความสามารถและกล้าหาญ ได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความรุ่งเรืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2525

ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นอาคารที่เก่าที่สุดหลังหนึ่งในเขตกำแพงเมืองลำพูน เป็นเรือนพักอาศัย ซึ่งเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย สร้างขึ้นเพื่อมอบให้แก่ชายาเจ้ายอดเรือน ชายาองค์สุดท้าย เมื่อปี พ.ศ.2470 ซึ่งมีความเก่าแก่และยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วย อาคารเรือนไม้ ข่วง ลานดินกว้างหน้าบ้าน ต้นไม้มงคล ยุ้งข้าว บ่อน้ำและส่วนประกอบอื่น ๆ ปัจจุบันคุ้มเจ้าเรือน เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแหล่ง ศึกษาหาความรู้ด้านสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองลำพูน เป็นการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมให้มีสภาพ สมบูรณ์ และสามารถใช้เป็นสถานที่จัดแสดงอาคารโครงสร้างบ้านเก่า สิ่งของ เครื่องใช้พื้นบ้าน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ เจ้าผู้ครองนครลำพูน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย

ตั้งอยู่ในเมืองลำพูน ด้านหลังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญชัย โดยใช้พื้นที่ของคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ ลำพูน ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี เป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าประวัติความเป็นมาอันยาวนานของเมืองลำพูน เมืองที่มีความศรัทธา ทางพระพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ร่วมเรียนรู้เมืองลำพูนผ่านภาพถ่าย ทั้ง บุคคล เหตุการณ์ และสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งที่นี่ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยที่มีชีวิตโดยมีการจัดแสดงภาพ เมืองลำพูน สิ่งของเครื่องใช้และวิถีชีวิตของ ชาวเมืองลำพูน ในอดีตได้อย่างงดงามเข้าใจง่าย

ตลาดหนองดอก หรือ กาดหนองดอก เป็นตลาดเย็น อยู่แถวอนุสาวรีย์พระนางจามเทวีข้างตลาด มีจำหน่ายทั้งอาหารและเครื่องแต่งกาย และเป็นตลาดใหญ่ที่ยังคงเสน่ห์แบบลำพูน และยังเป็นตลาดยอดนิยมของจังหวัดลำพูน

สถาบันผ้าทอมือหริภุญชัย อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน นักท่องเที่ยวสามารถมาชื่นชมผลงานสร้างสรรค์ของคนลำพูนได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.โดยทางสถาบันได้จัดโซนร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์หลากหลายจากฝีมือคนลำพูนไว้ให้เลือกชมเลือกซื้อเป็นของฝากมากมาย

วัดพระยืน ตั้งอยู่ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน อีกหนึ่งวัดเก่าแก่ของลำพูน ชื่อเดิมว่า วัดพฤทธมหาสถาน ซึ่งพระเจ้าธรรมมิกราช กษัตริย์หริภุญชัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1606-1611 พระเจดีย์เป็นทรงมณฑป มีพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ เครื่องบนประกอบด้วยเจดีย์ห้ายอด โดยมีเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน คล้ายกับอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม และพระเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงราย

กู่ช้าง กู่ม้า เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่คู่กัน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งหนึ่งที่ชาวลำพูนให้ความเคารพนับถือ เมื่อต้องการ สมหวังในสิ่งใด ก็มักจะมา ขอพรกันที่นี่ เรียกได้ว่าเป็นทั้งโบราณสถานที่มีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ตลอดจนเป็น ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ของคนในชุมชน ด้วยความเชื่อว่าเป็นสุสานช้างศึก – ม้าศึก คู่บารมีของพระนางจามเทวี

วัดจามเทวี หรือที่ ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกู่กุด ตั้งอยู่บนถนนจามเทวี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญมา ตั้งแต่สมัยล้านนาไทย ที่มีความสําคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีตามหลักฐานที่ได้พบศิลาจารึกเชื่อว่า พระราชโอรส ของพระนางจามเทวีคือ พระเจดีย์มหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิง แล้วโปรดให้สร้าง เจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทองทองเรียกชื่อว่า สุวรรณจังโกฏิ พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏิ หรือพระเจดีย์จามเทวี เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมแบบ พุทธคยาในประเทศอินเดีย แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่เป็นชั้น ๆ พรศิลปกรรมของลพบุรีมีพระพุทธรูป ยืนปาง ประทานพรอยู่ในซุ้มพระทั้งสี่ด้านด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์ ภายในพระเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์ แห่งนครหริภุญชัย ต่อมาจะเป็นสมัยใดไม่ทราบแน่ชัดยอดพระเจดีย์ได้หักหายไป ชาวบ้านจึงเรียกว่ากู่กุดพระเจดีย์ องค์นี้มีชื่อเป็น ทางการว่า พระเจดีย์สุวรรณจังโกฎพระเจดีย์องค์นี้ ถือเป็นแบบสถาปัตยกรรมที่มีความสําคัญในศิลปกรรมหริภุญชัย

วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานสำคัญในภาคเหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่เมืองลำพูนมาอย่างยาวนานตั้งอดีตนับเวลามากกว่าพันปี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทาง ทิศตะวันออก นอกจากนั้นยังเป็นองค์พระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปี ระกา อีกด้วย