อัปเดต 10 สุดยอดที่เที่ยวเบตงเมืองต้องห้ามพลาด! – good all trip

เวลาทำการ

วันจันทร์-วันศุกร์ 09.00 - 18.00 น. วันเสาร์ 09.00 - 12.00 น.

Hotline

093-2129897

093-2569030

อัปเดต 10 สุดยอดที่เที่ยวเบตงเมืองต้องห้ามพลาด!

กุมภาพันธ์ 22, 2021 | by good all trip

เมืองน่ารัก และมีเสน่ห์ แห่งปลายด้ามขวานไทย ที่นี่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติ แต่ผู้คนกลับอยู่ด้วยกันอย่างสงบ ช่วยเหลือ แบ่งปันกัน ซึ่งเป็นภาพที่น่ารักมาก ๆ ที่สำคัญสถานที่ท่องเที่ยวของเบตงสวยมาก ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม มีอาหารอร่อย ๆ ผู้คนยิ้มแย้ม เป็นมิตร เป็นอีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์แตกต่างไปจากที่อื่น อยากให้ทุกคนมาลองสัมผัสแล้วคุณจะหลงรัก “เบตง”

เริ่มต้นกันที่ประตูสู่เบตงกับวิวระหว่างทางที่สวยมาก ๆ สะพานข้ามทะเลสาบฮาลาบาลา เป็นทั้งทางสัญจรหลักสู่เมืองเบตง และยังเป็นจุดชมวิวที่สวยงาม และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยวด้วย จากจุดนี้จะสามารถมองเห็นโค้งน้ำสวย ๆ ของทะเลสาบฮาลาบาลา ภูเขา และสายน้ำขนาบข้างกันอย่างสวยงาม ใครมาเที่ยวก็อย่าลืมแวะชมวิว และเก็บภาพสวยๆ กันด้วยนะ

จุดนี้เป็นสัญลักษณ์ที่บอกว่าคุณมาถึงเบตงเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นก็คือ ป้ายโอเคเบตงนั่นเอง แวะไปถ่ายรูปเช็คอินกันที่ป้ายเบตง ก่อนออกเดินทางต่อกันนะ

ทะเลหมอกอัยเยอร์เวงความมหัศจรรย์แห่งเมืองยะลา ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของเมืองเบตงเลยก็ว่าได้ ในช่วงเช้าของแต่ละวันจะมีสายหมอกหนาลอยผ่านขุนเขาที่สลับซับซ้อน เป็นช่วงเวลามหัศจรรย์ที่งดงามมากจริง ๆ

สร้างขึ้นจากความคิด และการดำเนินการของอดีตประธานศาลฎีกา นายสวัสดิ์ โชติพานิช เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อขึ้นไปด้านบน คุณจะได้ดื่มด่ำทัศนียภาพของวัดและเมืองเบตงที่น่าประทับใจ อีกมุมหนึ่ง ทั้งนี้ตามประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์บนพื้นที่บริเวณนี้ไว้แล้ว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2512 แต่ยังไม่มีการก่อสร้างแต่อย่างใด ต่อมาภายหลังหม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกวัง ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรมไทย ได้ดำเนินการออกแบบก่อสร้างเป็นพระมหาธาตุเจดีย์แบบศรีวิชัยประยุกต์ โดยมีเจดีย์องค์ประธาน 4 องค์อยู่ตรงกลางรายรอบด้วยเจดีย์บริวาร และมีเจดีย์องค์เล็กขนาดเท่ากับเจดีย์องค์บริวาร ซึ่งเป็นเรือนธาตุซ้อนกันอยู่ภายในเจดีย์องค์ประธาน (สำหรับบรรจุพระสถูปพระบรมสารีริกธาตุ) ดังที่เห็นในปัจจุบัน และในระหว่างก่อสร้างนั้นเอง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สมทบทุนการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ เป็นเงิน 200,000 บาท และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระมหาธาตุเจดีย์แห่งนี้ว่าพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ และกลายมาเป็นศูนย์รวมศรัทธาที่ชาวใต้ภาคภูมิใจในที่สุด

อีกหนึ่งจุดเช็คอินห้ามพลาดของเมืองเบตงกับตู้ไปรษณีย์ที่อยู่ใต้ที่สุดของประเทศไทย และมีขนาดสูงที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

สร้างขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1966 โดยได้รวบรวมเงนจากผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันบริจาคเพื่อสร้างวัดกวนอิมแห่งนี้ โดยวัดกวนอิมแห่งนี้ก่อสร้างอย่างโดดเด่นบริเวณบริเวณเนินเขาของสวนสุดสยาม มีเจดีย์ 7ชั้น ที่ออกแบบก่อสร้างอย่างงดงาม วัดแห่งนี้ยังป็นสถานศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์เทพสำคัญๆหลายองค์ อาทิ เจ้าแม่กวนอิม ท่านแป๊ะกง ท่านกวงกง เจ้าแม่จิวหวังเหย่ ยี่หวังต้ตี้ หวาโถ่วเซียนซื่อ ขงจื้อ เป็นต้น

เป็นโครงการที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแนะนำแนวทางปลูกไม้เมืองหนาวขึ้น เมื่อครั้งเสด็จเยือนครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2537 เนื่องจากบริเวณหุบเขาส่วนนั้นอากาศหนาวปลูกยางพาราไม่ได้ผล โครงการนี้ เป็นโครงการที่ช่วยให้ ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และอดีตชาวจีนมาลายูที่ตั้งเป็นกองกำลังต่อต้านรัฐบาลมาเลเซียอยู่ในแดนไทยเขตเบตงสมัยก่อน ที่ออกจากป่ามาร่วมพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ให้มีรายได้และช่วยกันสร้างชาติไทย ปัจจุบันหุบเขาแห่งนี้จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีไม้ดอกเมืองหนาวหลากสีคล้ายบนดอยทางภาคเหนือ และไม้ดอกเหล่านี้เป็นสินค้าส่งออก เป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของเบตง เช่น ดอกไฮเดรนเยีย เบญจมาศ กุหลาบ พีค๊อก เยอบีร่า ลิลลี่ และ อีกหลายอย่างที่เหล่าซือไม่รู้จักชื่อ แต่รู้ว่าสวยดี แปลงปลูกดอกไฮเดรนเยีย มีหลายสีสวยจนอยากซื้อเอากลับบ้าน ทำไม่ได้เลยถ่ายมาหลายรูป ดอกไม้ชนิดนี้ ภาษาจีน เรียกว่า 绣花球 ที่เบตง อะไรๆ ก็มีภาษาจีนกำกับ ไม่ว่าจะเป็นชื่ออาหาร โรงแรม ชื่อสวน ชื่อดอกไม้ฯ เพราะนักท่องเที่ยวหลักคือชาวมาเลย์เชื้อสายจีน

ต้นไม้พันปี เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เป็นต้นไทรขนาดใหญ่หลายต้นมารวมกัน มีอายุหลายร้อยปี อยู่ที่หมู่บ้านปิยะมิตร 1 ใกล้ๆกับปากทางเข้าอุโมงค์ปิยะมิตร ต.ตาเนาะแมเราะ

เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของเบตงที่มีน้ำพุเดือดขึ้นมาจากพื้นดินในหมู่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตาเนาะแมเราะ ก่อนถึงอำเภอเบตง 5 กิโลเมตร หากเอ่ยถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของยะลา หลายคนคงนึกถึงบ่อน้ำร้อนเบตง ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มากมาย โดยอุณหภูมิของน้ำนั้นอยู่ที่ประมาณ 80 องศาเซลเซียส และบริเวณที่น้ำเดือดนี้สามารถต้มไข่ไก่ได้จนสุกภายใน 7 นาทีเท่านั้น ปัจจุบันทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาได้ร่วมมือกับภาคเอกชนพัฒนาพื้นที่ 3 ไร่ของบ่อน้ำร้อนเบตงให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิดหน้าชูตาของจังหวัด โดยมีการสร้างสระน้ำขนาดใหญ่สำหรับกักน้ำจากน้ำพุร้อนเพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ใช้อาบหรือแช่เท้าเล่น แต่ละโซนของพื้นที่ออกแบบอย่างได้มาตรฐาน ถูกสุขลักษณะ ทั้งบ่อน้ำร้อนบ่อใหญ่ บ่อแช่น้ำร้อนใหม่ อาคารธาราบำบัด ตลอดจนอาคารสำหรับพักค้างคืนที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายอย่างครบครัน ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตาเนาะแมเราะ จังหวัดยะลา โดยอยู่ห่างตัวเมืองเบตงไปตาม ทางหลวงหมายเลข 410 (ยะลา-เบตง) ประมาณ 5 กิโลเมตร และแยกเข้าไปตามทางคอนกรีตอีกเกือบ 7 กิโลเมตร รวมระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ที่นี่เปิดให้เข้าชมทุกวัน

สถานที่แห่งประวัติศาสตร์ ปลายด้ามขวานไทย อุโมงค์ปิยะมิตร ที่นี่ในอดีตเคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของโจรคอมมิวนิสต์มลายา เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและสถานที่หลบภัยของคอมมิวนิสต์ ภายในอุโมงค์มีความยาวกว่า 1 กิโลเมตร ระหว่างทางเดินไปสู่อุโมงค์ต้องเดินผ่านป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มากๆ และด้านหน้าอุโมงค์ยังมีพิพิธภัณฑ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ให้เราได้ศึกษาประวัติความเป็นมาด้วย